เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษกว่ากัมพูชา
เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษติดอันดับ 42 ของโลก จากทั้งหมด 44 ประเทศ ทั้งนี้เลขาธิการสภาการศึกษา เร่งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศและประเทศบวกสาม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
อีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้ในการสื่อสารกันในภูมิภาคถือเป็นสิ่งสำคัญ จากการสำรวจของโรงเรียนสอนภาษาระดับโลก เอดูเคชันเฟิสต์ หรือ อีเอฟ (EF) ระบุว่า เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษติดอันดับ 42 ของโลก จากทั้งหมด 44 อันดับ รองจากกัมพูชาที่อยู่ในอันดับที่ 41 เวียดนามลำดับที่ 39 อินโดนีเซียลำดับที่ 34 และมาเลเซียอยู่ลำดับที่ 9 ผลการสำรวจนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าทักษะภาษาอังกฤษของเยาวชนไทยนั้นยังไม่สามารถสู้กับประเทศอื่นๆได้
เลขาธิการสภาการศึกษา ระบุว่า ประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และเป้าหมายในการเรียนภาษาต่างประเทศอย่างเป็นระบบ โดยผู้เรียนไม่ทราบว่าเรียนไปเพื่ออะไร ทำให้ต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วนและในวงการศึกษาไทยขณะนี้มีเวลาไม่มาก สำหรับการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นมีความสำคัญมาก
นอกจากนี้เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว การติดต่อในระบบงานราชการ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยการทำหนังสือราชการติดต่อนั้น ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย
และอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องเรียนรู้ได้อย่างน้อย 3 ภาษา นั่นคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน และที่เพิ่มมานั้นคือภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการติดต่อสื่อสารทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แต่ยังขาดยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกษา ซึ่งเลขาธิการสภาการศึกษา ระบุว่า โดยการศึกษาต้องนำไปเสริมทางด้านเศรษฐกิจด้วย ซึ่งหลายหน่วยงานต้องเร่งปลุกระดมให้มีการเรียนรู้ภาษามากขึ้น เพื่อเป็นผลพลอยได้ให้ประเทศไทยมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นด้วย
อีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้ในการสื่อสารกันในภูมิภาคถือเป็นสิ่งสำคัญ จากการสำรวจของโรงเรียนสอนภาษาระดับโลก เอดูเคชันเฟิสต์ หรือ อีเอฟ (EF) ระบุว่า เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษติดอันดับ 42 ของโลก จากทั้งหมด 44 อันดับ รองจากกัมพูชาที่อยู่ในอันดับที่ 41 เวียดนามลำดับที่ 39 อินโดนีเซียลำดับที่ 34 และมาเลเซียอยู่ลำดับที่ 9 ผลการสำรวจนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าทักษะภาษาอังกฤษของเยาวชนไทยนั้นยังไม่สามารถสู้กับประเทศอื่นๆได้
เลขาธิการสภาการศึกษา ระบุว่า ประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และเป้าหมายในการเรียนภาษาต่างประเทศอย่างเป็นระบบ โดยผู้เรียนไม่ทราบว่าเรียนไปเพื่ออะไร ทำให้ต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วนและในวงการศึกษาไทยขณะนี้มีเวลาไม่มาก สำหรับการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นมีความสำคัญมาก
นอกจากนี้เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว การติดต่อในระบบงานราชการ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยการทำหนังสือราชการติดต่อนั้น ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย
และอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องเรียนรู้ได้อย่างน้อย 3 ภาษา นั่นคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน และที่เพิ่มมานั้นคือภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการติดต่อสื่อสารทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แต่ยังขาดยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกษา ซึ่งเลขาธิการสภาการศึกษา ระบุว่า โดยการศึกษาต้องนำไปเสริมทางด้านเศรษฐกิจด้วย ซึ่งหลายหน่วยงานต้องเร่งปลุกระดมให้มีการเรียนรู้ภาษามากขึ้น เพื่อเป็นผลพลอยได้ให้ประเทศไทยมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น